เมื่อใช้รถไปนาน ๆ ย่อมเกิดการเสื่อมสภาพเป็นธรรมดา พวงมาลัยสั่นขณะขับรถ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้รถมักประสบ ซึ่งอาการพวงมาลัยรถสั่นและสะเทือน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ควรให้ช่างตรวจสอบและแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการขับขี่
อาการ พวงมาลัย สั่น และ สะเทือน มีสาเหตุมาจากถ่วงล้อไม่สมดุลกัน
หากขับรถไปแล้วพวงมาลัยสั่น ถ่วงล้อไม่หาย เป็นไปได้ว่า ล้อที่ถ่วงมาทั้งสองด้านอาจไม่สมดุลกัน ยิ่งขับเร็วก็ยิ่งสั่นมากขึ้น ควรนำล้อไปถ่วงใหม่โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ อีกสาเหตุหนึ่ง คือมาจากการเสื่อมสภาพของตุ้มถ่วงล้อ ทำให้หลุดหายไป จึงทำให้ล้อไม่สมดุลกันจนเกิดอาการสั่นระหว่างขับขี่นั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เรื่องที่คนมีรถควรรู้
พวงมาลัยสั่น เกิดจาก ยางเสียรูป – ยางบวม
ขับรถแล้วพวงมาลัยสั่น อาจมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของยาง อันเนื่องมาจากอายุการใช้งานที่ยาวนาน หรือพฤติกรรมของผู้ขับขี่เอง เช่น ขับรถตกหลุมหรือกระแทกอย่างรุนแรง จนส่งผลต่อโครงสร้างในผ้าใบ ทำให้ยางผิดรูป ยางบวม ควรเปลี่ยนยางใหม่ให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
พวงมาลัยสั่น เกิดจากล้อคด
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาการ พวงมาลัย สั่น และ สะเทือน คือ ล้อคด-ล้อดุ้ง ที่เกิดจากการขับรถไม่ถนอม เจอลูกระนาดแล้วไม่เบรก หรือตกหลุมอย่างรุนแรงจนทำให้ล้อเสียรูป ควรนำเข้าอู่ไปซ่อมหรือเปลี่ยนล้อใหม่ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
พวงมาลัยสั่น เกิดจากลูกปืนล้อแตก
ลูกปืนล้อแตก จะทำให้ล้อแกว่ง เกิดเสียงหอน รวมถึงพวงมาลัยรถสั่นขณะขับขี่ เพราะตัวรับน้ำหนักและจุดหมุนของล้อใช้งานไม่ได้แล้ว ควรเปลี่ยนใหม่ให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่หลักพันบาท
พวงมาลัยสั่น เกิดจากช่วงล่างหลวม
จะขับเร็ว-ขับช้า พวงมาลัยสั่น เป็นไปได้ว่ามีสาเหตุมาจากช่วงล่างหลวม หรืออุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งของช่วงล่างหลวม เช่น คันชัก เพลาขับ ลูกหมาก ฯลฯ จนทำให้พวงมาลัยรถสั่น ควรนำเข้าอู่ให้ช่างตรวจสอบหาสาเหตุและแก้ไขให้
หากขับรถไปแล้วพวงมาลัยสั่น ควรรีบนำเข้าอู่หรือศูนย์เพื่อให้ช่างตรวจสอบหาสาเหตุและแก้ไขให้เร็วที่สุด แม้จะเป็นระยะเริ่มต้นก็ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจบานปลายยิ่งกว่าเดิม จนอาการ “พวงมาลัยรถสั่น” กลายเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ
อ่านเพิ่มเติม
- ข้อดีของรถไฮบริดเมื่อเปรียบเทียบกับรถ EV
- แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ มีขั้นตอนอย่างไร