ภายหลังจากที่ผู้ขับขี่มีการใช้งานรถยนต์เดินทางไกลไปในต่างจังหวัดช่วงวันหยุดยาว รถยนต์ของท่านย่อมผ่านการใช้งานหนักซึ่งส่งผลให้ชิ้นส่วนบางประการในรถยนต์มีการสึกหรอไปทั้งจากการใช้งานหนัก และเสื่อมสภาพตามอายุของการใช้งาน อย่างไรก็ตามการตรวจเช็คสภาพรถ หลังเดินทางไกลนับเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยยืดอายุการใช้งานรถยนต์สุดรักออกไปให้ได้นานยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ขับขี่ประหยัดเงินในกระเป๋าได้เป็นอย่างดีเพราะการตรวจเช็คระบบต่างๆภายในรถยนต์บางจุดนั้นผู้ขับขี่สามารถที่จะทำได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องนำรถเข้าไปตรวจเช็คยังศูนย์บริการแต่อย่างใด กอปรกับตรวจเช็คสภาพรถ หลังเดินทางไกลยังเป็นตัวช่วยให้ผู้ขับขี่ได้ทราบถึงการทำงานของระบบต่างๆภายในรถยนต์ว่ายังมีการทำงานที่เป็นปกติดีอยู่หรือไม่ถือเป็นการป้องกันก่อนที่จะมีความเสียหายมากยิ่งขึ้นและต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อซ่อมแซมรถนั่นเอง Autofast9.com แนะนำวิธีเช็คสภาพรถ หลังเดินทางไกลที่ผู้ขับขี่สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
เช็คสภาพรถ หลังเดินทางไกล ทำอย่างไร
การตรวจเช็คสภาพรถ หลังเดินทางไกลช่วยให้ผู้ขับขี่ได้ทราบถึงการทำงานที่ผิดปกติภายในเครื่องยนต์และระบบต่างๆซึ่งผู้ขับขี่สามารถที่จะเริ่มต้นตรวจเช็คระบบต่างๆได้ด้วยตนเอง อาทิ เช็คยางรถยนต์ , เช็คระบบเบรค , เช็คของเหลว , เช็คระบบไฟ เช็คสภาพตัวถัง และเช็คไส้กรองอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้การตรวจเช็คสภาพรถยนต์ในบางประการผู้ขับขี่สามารถที่จะดำเนินการตรวจเช็คได้ด้วยตนเอง เมื่อพบความผิดปกติที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์มีการทำงานที่ผิดพลาดจนส่งผลให้ฟังก์ชั่นต่างๆไม่สามารถใช้งานได้ก็ควรนำรถเข้าไปตรวจเช็คยังอู่ที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อทำการแก้ไขต่อไป โดยจุดที่ผู้ขับขี่ควรตรวจเช็ครถยนต์ หลังจากเดินทางไกลในช่วงวันหยุดยาวมีดังนี้
1.เช็คระบบเบรค
เมื่อผู้ขับขี่ต้องใช้งานรถเดินทางในระยะทางไกล สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างมากทั้งก่อนที่จะเดินทางไกลและหลังกลับจากการเดินทางไกลแล้วนั้น ได้แก่ การตรวจเช็คระบบเบรค เนื่องจากระบบเบรก หรือ ระบบห้ามล้อ มีหน้าที่หลักในการหยุดยั้งรถ และ ชะลอรถก่อนถึงเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้รถเฉี่ยวชนและปะทะเข้ากับสิ่งกีดขวางตรงหน้าซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพราะฉะนั้นตรวจเช็คระบบเบรคจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากนั่นเอง ทั้งนี้การใช้งานระบบเบรกอยู่เป็นประจำในทุกครั้งที่ต้องขับขี่ก็ย่อมส่งผลให้ระบบเบรคมีการเสื่อมสภาพลงไปตามระยะเวลา เช่น น้ำมันเบรคหมด ผ้าเบรคเสื่อมสภาพ และจานเบรคขึ้นสนิม เมื่อผ้าเบรกเริ่มเสื่อมสภาพสามารถสังเกตได้ดังนี้
- ผิวสัมผัสของผ้าเบรคเริ่มมีผงสีดำขึ้นเกาะเป็นคราบจนส่งผลให้มีอาการเบรคลื่นและต้องใช้ระยะในการเบรคเพื่อหยุดรถมากขึ้น
- ในช่วงที่ทำการเหยียบเบรคจะมีเสียงดังคล้ายคลึงกับแผ่นเหล็กเสียดสีกันถือเป็นอาการของผ้าเบรคหมด
- เหยียบเบรคแล้วรู้สึกได้ว่าเบรคลื่นไม่ค่อยมีความหนืดเป็นสัญญาณของผ้าเบรกหมด
- ผ้าเบรคในบางรุ่นมีการออกแบบให้มีลักษณะเป็นตุ้มโลหะเมื่อผ้าเบรคหมดจะมาเสียดสีกับจานเบรคจนทำให้จานเบรคเสียหาย
เมื่อผู้ขับขี่พบว่าผ้าเบรคหมดควรเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ หรือ เลือกเปลี่ยนผ้าเบรคเมื่อมีการใช้งานครบ 60,000 กิโลเมตร ส่วนน้ำมันเบรกสามารถตรวจเช็คได้จากก้านวัดน้ำมันเบรกซึ่งควรอยู่ในระหว่าง Max และ Min หากอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับ Min หรือ น้อยกว่าควรเติมน้ำมันเบรกเพิ่ม และอาจตั้งข้อสังเกตว่าระบบเบรกมีความผิดปกติ เช่น น้ำมันเบรกรั่ว รวมไปถึงผ้าเบรคมีอาการเสื่อมสภาพนั่นเอง
2.เช็คของเหลว
เมื่อผู้ขับขี่มีการใช้งานรถยนต์ไประยะหนึ่งของเหลวภายในรถซึ่งประกอบไปด้วย น้ำฉีดกระจก น้ำในหม้อน้ำ น้ำกลั่นแบตเตอรี่ น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ และน้ำมันเบรก มีการเสื่อมสภาพ ระเหย หรือ หมดสภาพไปตามอายุการใช้งาน เพราะฉะนั้นผู้ขับขี่จึงควรให้ความสำคัญกับการเช็คของเหลวเป็นอย่างมาก โดยมีวิธีการดังนี้
- น้ำฉีดกระจก ให้ผู้ขับขี่ตรวจสอบที่กระบอกน้ำฉีดกระจกซึ่งมีลักษณะเป็นกล่องทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดตั้งไว้ในบริเวณด้านหน้าฝั่งซ้ายของเครื่องยนต์ซึ่งจะมีระดับของน้ำฉีดกระจกแสดงเอาไว้อยู่ ควรเติมน้ำสะอาดผสมกับน้ำยาฉีดล้างกระจกรถยนต์ซึ่งมีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในปริมาณที่พอดีกับขีดที่มีการแสดงเอาไว้
- น้ำหม้อน้ำ หม้อน้ำรถยนต์เปรียบเสมือนระบบหล่อเย็นสำหรับเครื่องยนต์เมื่อน้ำในหม้อน้ำรถยนต์หมดย่อมทำให้เครื่องยนต์ไม่มีน้ำสำหรับหล่อเย็นเพื่อลดอุณหภูมิความร้อนภายในเครื่องยนต์จนส่งผลให้ระดับความร้อนขึ้นแสดงสัญลักษณ์ที่หน้าปัดแสดงผลการขับขี่และทำให้เครื่องยนต์ไหม้ หรือ เสียหายได้ เมื่อต้องขับขี่รถในระยะทางไกลผู้ขับขี่ควรตรวจเช็คน้ำในหม้อน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ควรตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำเมื่อเครื่องยนต์เย็น หรือ ยังไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ และไม่ควรเติมน้ำจนเต็มเกินไปอีกด้วย
- ตรวจเช็คน้ำกลั่น สำหรับแบตเตอรี่ปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานอย่างหลากหลายทั้งแบตเตอรี่แบบแห้งซึ่งไม่ต้องเติมน้ำกลั่น แบตเตอรี่กึ่งแห้งจะต้องเติมน้ำกลั่นเล็กน้อย และแบตเตอรี่แบบน้ำซึ่งจะต้องใช้น้ำกลั่นเข้ามาเป็นส่วนประกอบในแบตเตอรี่อยู่โดยตลอดผู้ขับขี่จึงควรให้ความสำคัญกับการใช้งานแบตเตอรี่ในกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก โดยการเติมน้ำกลั่นในปริมาณที่พอดีไม่ล้นออกมาจากแบตเตอรี่ เนื่องจากหากไม่เติมน้ำกลั่นจะส่งผลให้แบตเตอรี่ไม่ทำงานและไม่สามารถที่จะเก็บไฟจากไดชาร์จได้จนเป็นสาเหตุทำให้รถสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ติดนั่นเอง
- น้ำมันเครื่อง ผู้ขับขี่สามารถตรวจเช็คน้ำมันเครื่องได้จากก้านวัดน้ำมันเครื่องซึ่งมีการติดตั้งเอาไว้ในเครื่องยนต์ขณะที่เครื่องยนต์ดับสนิทควรดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องขึ้นมาเช็ดและนำใส่กลับเข้าไปใหม่ก่อนดึงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งว่าน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับใด หากอยู่ในระหว่าง Max และ Min แสดงว่าน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับที่ปกติ หากใกล้เคียงกับ Min ควรเติม ทั้งนี้น้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งเมื่อครบระยะ 5,000-10,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเกียร์ การตรวจเช็คน้ำมันเกียร์ให้ผู้ขับขี่สังเกตที่ก้านวัดระดับน้ำมันเกียร์ซึ่งมีการติดตั้งอยู่ในรถทุกคัน เมื่อเครื่องยนต์เย็นควรดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ขึ้นมาแล้วทำการเช็คให้สะอาดก่อนใส่กลับลงไปอีกครั้งเพื่อทำการวัด โดยระดับน้ำมันเกียร์ไม่ควรต่ำกว่า Cool เมื่อเครื่องเย็น และไม่ควรสูงกว่า Hot เมื่อเครื่องร้อน
3.เช็คระบบไฟ
สำหรับการเช็คระบบไฟรถยนต์ผู้ขับขี่สามารถที่จะทำได้ด้วยตนเองเพียงใช้อุปกรณ์ตรวจวัดกระแสไฟฟ้าในรถยนต์ Multi Meter ทำการวัดกระแสไฟฟ้าว่ามีการทำงานได้อย่างปกติดีหรือไม่ โดยใช้วิธีการดังนี้
- ปิดฟังก์ชั่นการใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบไฟฟ้าทุกอย่างภายในรถ
- ถอดขั้วลบออกจากแบตเตอรี่ จากนั้นจึงนำมัลติมิเตอร์มาปรับให้เป็นกระแสไฟตรง DC Current
- คีบสายขั้วบวกและขั้วลบของมัลติมิเตอร์เข้ากับสายขั้วลบของแบตเตอรี่ หากไม่มีไฟรั่วมัลติมิเตอร์จะแสดงค่าไฟปกติอยู่ที่ -0.09 ถึง -0.03 แอมป์ แต่ในกรณีที่มีไฟรั่วค่าที่ได้จะอยู่ที่ระหว่าง -0.20 ถึง -0.10 ผู้ขับขี่ควรนำรถเข้าตรวจเช็คระบบไฟยังอู่ที่รับทำระบบไฟรถยนต์ต่อไป
4.เช็คยางรถยนต์
สำหรับการตรวจเช็คยางรถยนต์ ภายหลังจากที่ผู้ขับขี่ใช้ยานพาหนะเดินทางไกลควรตรวจเช็คโดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งก่อนการเดินทางไกล และภายหลังจากการเดินทางไกลเพื่อป้องกันปัญหายางลมอ่อนซึ่งจะส่งผลให้รถต้องใช้พลังงานจากเครื่องยนต์เพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อเร่งทำความเร็ว และการตรวจเช็คยางรถยนต์จะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย โดยวิธีการตรวจเช็คยางรถยนต์มีดังนี้
- ตรวจสอบบริเวณแก้มยางว่ามีรอยแตกลายงาออกมาหรือไม่เพื่อป้องกันปัญหายางแตกในขณะขับขี่
- ตรวจสอบสภาพทั่วไปของหน้ายางว่ายังคงอยู่ในสภาพที่ปกติพร้อมใช้หรือไม่หากพบรอยแตกควรเปลี่ยนใหม่
- ตรวจสอบระดับความลึกของหน้ายาง ด้วยวิธีการสังเกตความลึกของดอกยางที่ไม่ควรให้ลดลงเกินกว่า 1.66 มิลลิเมตร หรือ ใช้วิธีการอ่านสัญลักษณ์บนยางโดยตรงที่มีการบ่งบอกถึงอัตราการสึกหรอของดอกยาง
- ตรวจเช็คลมยางอยู่โดยตลอด สำหรับการเติมลมยางควรเติมอยู่ในปริมาณที่มีความเหมาะสมตามรถในแต่ละรุ่นซึ่งมีการระบะเอาไว้ที่บริเวณกรอบประตูฝั่งคนขับ หากเติมลมยางมากจนเกินไปจะส่งผลให้รถมีอาการกระด้าง ส่วนในกรณีที่เติมลมน้อยจนเกินไปก็จะทำให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นมากยิ่งขึ้นทำให้ทำความเร็วได้ช้าและสิ้นเปลืองน้ำมันนั่นเอง
5.เช็คไส้กรองอากาศ
ไส้กรองอากาศถือเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญในการฟอกอากาศที่จะถูกนำเข้าไปสู่ห้องโดยสารให้มีความบริสุทธิ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น การเช็คไส้กรองอากาศสามารถที่จะทำได้ง่ายๆผ่านวิธีการถอดไส้กรองอากาศออกมาล้างทำความสะอาด โดยไส้กรองอากาศจะถูกติดตั้งเอาไว้ภายในกล่องสีดำขนาดใหญ่ในห้องเครื่องยนต์ ผู้ขับขี่สามารถที่จะทำการเปิดออกมาเพื่อนำไส้กรองอากาศมาฉีดล้างทำความสะอาดได้ด้วยน้ำสะอาด หรือ อาจใช้น้ำยาฆ่าเชื้อได้เช่นกัน ก่อนเป่าให้แห้งแล้วนำติดตั้งเข้าไปใหม่ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน ทั้งนี้ผู้ขับขี่ควรทำการเปลี่ยนไส้กรองอากาศในระยะ 15,000 กิโลเมตร
6.เช็คตัวถัง
เมื่อผู้ขับขี่ต้องใช้งานรถยนต์ในการเดินทางไกลสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันนั้น ได้แก่ การตรวจเช็คตัวถัง เนื่องจากตัวถังรถยนต์เปรียบเสมือนเกราะปกป้องผู้ขับขี่จากเศษวัสดุต่างๆที่อาจตกหล่นเข้ามาสู่ตัวรถ กอปรกับโครงสร้างตัวถังยังช่วยรักษาความสมดุลในการขับขี่ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้ขับขี่ควรตรวจสอบตั้งแต่ตัวถังด้านหน้าทั้งในส่วนของกระจังหน้า กันชนหน้า และฝากระโปรงหน้าซึ่งอาจมีริ้วรอยจากการขูดขีดต่างๆในระหว่างการเดินทาง รวมไปถึงดารตรวจสอบด้านข้างของตัวรถทั้งในส่วนของประตู ซุ้มล้อ และบันไดข้างว่ามีความผิดปกติดีอยู่หรือไม่ ก่อนเช็คตัวถังด้านหลังในตำแหน่งกันชนท้าย ฝาปิดห้องเก็บสัมภาระ ไฟท้าย และสปอยเลอร์หลังว่ายังมีสภาพปกติดีและไม่มีริ้วรอยขีดข่วนนั่นเอง
7.เช็คช่วงล่าง
การตรวจเช็คช่วงล่างถือเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการตรวจเช็คระบบอื่นๆภายในรถยนต์ เนื่องจากระบบช่วงล่างที่มีความปกติดีย่อมทำให้สามารถส่งผ่านความนุ่มนวลไปสู่ห้องโดยสารได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การตรวจเช็คช่วงล่างผู้ขับขี่สามารถทำได้ง่ายๆผ่านวิธีการสังเกตในขณะที่รถลงหลุม หรือ ขับขี่บนเนินลูกระนาดช่วงล่างมีอาการกระด้าง หรือ มีเสียงดังออกมาจากช็อคอัพในขณะที่รถลงหลุมแสดงว่าระบบช่วงล่างในรถของท่านกำลังเสื่อมสภาพควรทำการตรวจเช็คและเปลี่ยนช็อคอัพใหม่ยังศูนย์บริการตรวจเช็คระบบช่วงล่าง
ดูเพิ่มเติม