วาล์วรถ (Car Engine Valve) อีกหนึ่งชิ้นส่วนสำคัญภายในเครื่องยนต์ ทำมาจากโลหะ มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ติดตั้งอยู่บนฝาสูบเครื่องยนต์ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย ทำหน้าที่เปิด-ปิดไอดีและไอเสีย มีการทำงาน 4 จังหวะ ได้แก่
- จังหวะดูด : ดูดไอดีและอากาศเข้าไปในกระบอกสูบ กระบอกสูบที่อยู่ด้านบนจะเคลื่อนตัวลงด้านล่าง
- จังหวะอัด : อัดส่วนผสมไอดีให้ควบแน่น กระบอกสูบเลื่อนขึ้น
- จังหวะระเบิด : เกิดการเผาไหม้ภายในกระบอกสูบ แรงดันเพิ่มขึ้นจนผลักลูกสูบลงสู่ด้านล่างอีกครั้ง
- จังหวะคาย : ลิ้นไอเสียเปิด และดันไอเสียออกไปทางท่อไอเสีย กระบอกสูบเลื่อนขึ้น
ปัญหาของวาล์วรถยนต์
เมื่อใช้รถไปนาน ๆ จะวาล์วรถจะเสื่อมสภาพลง และอาจเกิด อาการวาล์วยัน ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ทั้งรถใช้น้ำมันและรถติดเแก๊ส ทว่ารถใช้แก๊สจะมีโอกาสมากกว่า เนื่องจากแก๊สเป็นเชื้อเพลิงที่มีความร้อนสูง จึงทำให้ชิ้นส่วนภายในรถยนต์สึกหรอได้ง่ายกว่าปกตินั่นเอง อย่างไรก็ตาม รถที่ใช้น้ำมันก็ไม่ควรละเลยการดูแลด้วยเช่นกัน
อาการวาล์วยัน จะแสดงให้เห็นผ่านอาการกระตุกและสั่นของเครื่องยนต์ เร่งเครื่องไม่ขึ้น ทำให้รถกินน้ำมันมากกว่าปกติ บางครั้งเข้าเกียร์ออกตัวแล้วดับ ไม่เสถียร วาล์วมีเสียงดัง ยิ่งเมื่อเปิดแอร์รถที่ต้องใช้กำลังไฟมาก รถจะยิ่งสตาร์ตติดยากมากขึ้น บางรุ่นอาจมีไฟสัญญาณที่เกี่ยวข้องขึ้นโชว์บนแผงหน้าปัด หากไม่ซ่อมแซมแล้วปล่อยให้วาล์วยันต่อไป ชิ้นส่วนภายในจะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าเดิม
นอกจากปัญหาวาล์วยันแล้ว หากพบว่ามีควันดำออกมาจากท่อไอเสีย เป็นไปได้ว่ารถของคุณกำลังประสบอาการ วาล์ว รั่ว เนื่องจากปิดวาล์วไม่สนิท จนทำให้ไอดีรั่วไหลเข้าไปในห้องเผาไหม้ และทำให้เกิดควันดำขึ้นนั่นเอง
วาล์วรถยนต์ ดูแลอย่างไร ?
หากต้องการแก้ วาล์ว ยัน รถที่ใช้แก๊สควรตรวจเช็กสภาพทุก ๆ 40,000 – 60,000 กิโลเมตร ส่วนรถที่ใช้น้ำมันควรตรวจเช็กเมื่อถึง 80,000-100,000 กิโลเมตร เป็นอย่างต่ำ เมื่อพบปัญหาจะได้แก้ไขได้ทันเวลา
การซ่อม วาล์ว ทำได้โดยการปรับตั้งวาล์วใหม่ หากยังแก้ไขไม่ได้ อาจจะต้องทำการเจียบ่าวาล์ว รวมถึงตีบ่าวาล์วใหม่ ด้วยการนำวัสดุที่แข็งแรงกว่าใส่เข้าไปแทน แต่ถ้าทำทุกทางแล้วยังแก้ปัญหาวาล์วยันไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนฝาสูบใหม่ไปเลย ซึ่งวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้ใช้รถจึงควรสังเกตและแก้ไขเมื่อพบความผิดปกติ จะได้ไม่ต้องเจอปัญหาหนักนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม