อาการเครื่องรถยนต์สั่นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยทั้งจากหัวฉีดเสื่อมสภาพทำให้อัดฉีดน้ำมันเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ไม่สะดวก ลูกสูบไม่ทำงาน คอยล์บริเวณหัวสูบชำรุด เหล่านี้ล้วนแล้วที่มีการเกี่ยวเนื่องกันจนส่งผลให้การทำงานของเครื่องยนต์มีความผิดปกติและส่งผลให้เกิดรอบเดินเบา เครื่องสั่นจนผู้ขับขี่ไม่สามารถที่จะใช้งานรถยนต์ต่อไปได้และต้องทำการซ่อมแซมในส่วนของเครื่องยนต์ให้เป็นปกติจึงสามารถที่จะใช้งานรถได้อย่างเต็มสมรรถนะ Autofast9.com ได้รวบรวมเอาสาเหตุของการเกิดอาการเครื่องรถยนต์สั่นพร้อมแนวทางการแก้ไข
1.หัวฉีดทำงานผิดปกติ
หัวฉีดจัดเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการอัดฉีดน้ำมันหากมีการทำงานที่ผิดปกติอาจส่งผลให้เครื่องยนต์มีการทำงานที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ เร่งแล้วแรงตกไม่มีกำลัง รอบเดินเบา เครื่องสั่นและมีอัตราการกินน้ำมันมากยิ่งขึ้นซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากน้ำมัน หรือ แก๊สที่มีการใช้งานกันอยู่มีคราบสกปรกไปติดค้างอยู่ที่บริเวณหัวฉีดแม้ว่าจะมีตัวกรองน้ำมันคอยดักจับสิ่งสกปรกอยู่อีกชั้นหนึ่งแล้วก็ตามโดยเฉพาะในรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานยาวนานประมาณ 100,000 กิโลเมตรขึ้นไปจะมีความเสี่ยงในการที่หัวฉีดทำงานผิดปกติอยู่มาก
วิธีแก้ไข
วิธีการแก้ไขอาการรอบเดินเบา เครื่องสั่นสามารถทำได้ง่ายด้วยตนเองเพียงแค่เติมน้ำยาล้างหัวฉีดโดยเฉพาะที่มีจำหน่ายอยู่ตามร้านประดับยนต์เข้าไปในถังน้ำมันเพื่อชำระล้างคราบสกปรกต่างๆ หรือ คราบน้ำมันที่มีการเกาะตัวอยู่บริเวณหัวฉีด โดยน้ำยาทำความสะอาดหัวฉีดที่มีการเติมเข้าไปนั้นจะเข้าไปผสมอยู่กับน้ำมันปกติและไหลเวียนอยู่กับน้ำมันเชื้อเพลิงทำความสะอาดหัวฉีดทุกครั้งที่มีการอัดฉีดจ่ายน้ำมัน ส่วนในกรณีที่สามารถถอดล้างหัวฉีดแบบเต็มระบบได้จะให้ผลที่ดีกว่าในแบบแรก เพราะคราบน้ำมันจะถูกขจัดออกไปจนหมด เนื่องจากจะทราบได้ว่าหัวฉีดแต่ละหัวสามารถอัดฉีดน้ำมันได้มากน้อยเพียงใด หรือ มีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันมาเท่าไร จากนั้นจึงทำการล้างด้วยเครื่องมือพิเศษซึ่งจะทำให้คราบยางสีดำเหนียวๆที่เกาะอยู่บริเวณหัวฉีดหลุดร่อนออกมา และควรตรวจเช็คว่าในแต่ละหัวฉีดสามารถอัดฉีดน้ำมันออกมาได้สม่ำเสมอกันหรือไม่ เนื่องจากหัวฉีดที่มีประสิทธิภาพในการทำงานดีจะต้องมีการอัดฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ในปริมาณที่เท่ากันนั่นเอง
2.ท่อ Vacuum รั่ว
ท่อ Vacuum ใช้สำหรับการควบคุมองศาของไฟที่ใช้สำหรับจุดระเบิดหัวเทียน หรือ ใช้ควบคุมแรงดันน้ำมันภายในเครื่องยนต์ให้มีการทำงานที่ปกติ หากท่อ Vacuum มีการทำงานที่ผิดปกติไปก็อาจส่งผลให้เครื่องยนต์มีอาการแรงดันตก เครื่องยนต์เดินเบา หรือ เครื่องยนต์สั่น เพราะท่อ Vacuum มีการทำงานหลักในการจุดระเบิดในช่วงรอบเครื่องยนต์เดินเบานั่นเอง
วิธีแก้ไข
เมื่อพบปัญหาอาการเครื่องยนต์สั่นเมื่อรอบเครื่องเดินเบา หรือ ช่วงที่รถจอดอยู่กับที่ ให้ผู้ขับขี่สังเกตไปที่ท่อ Vacuum ภายในเครื่องยนต์ที่อาจมีการทำงานที่ผิดปกติไปได้เพราะท่อแวคคัมอาจเกิดอาการรั่ว เพราะฉะนั้นต้องตรวจเช็คที่ท่อ Vacuum ว่ายังมีสภาพปกติดีอยู่หรือไม่ หากพบว่ามีการทำงานที่ผิดพลาด เพราะเครื่องยนต์สะดุด รอบเดินเบาแล้วเครื่องยนต์ดับให้นำรถยนต์เข้าไปที่อู่เพื่อทำการเปลี่ยนใหม่ โดยเลือกใช้ท่อ Vacuum ที่มีความแข็งแรงเพื่อป้องกันอาการท่อบิดงอเนื่องจากความร้อนภายในเครื่องยนต์
3.หัวเทียนรถยนต์ทำงานผิดปกติ
หัวเทียนถือเป็นส่วนประกอบในเครื่องยนต์อีกชิ้นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากทำหน้าที่ในการจุดระเบิดภายในห้องเผาไหม้โดยตรงหากมีการทำงานที่ผิดพลาด หรือ เสื่อมสภาพย่อมทำให้การจุดระเบิดทำได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพส่งผลให้เมื่อผู้ขับขี่เหยียบคันเร่งจะทำให้เครื่องยนต์รอบตก ไม่เพิ่มอัตราเร่ง และเครื่องยนต์สั่น กินน้ำมันมากนั่นเอง อย่างไรก็ตามหัวเทียนได้รับการติดตั้งเข้าไปภายในรถยนต์ทั้งในรูปแบบเครื่องยนต์เบนซิน และ ดีเซล โดยถูกกำหนดเอาไว้ตามจำนวนของลูกสูบภายในเครื่องยนต์นั้นๆ อาทิ เครื่องยนต์ 4 สูบ ก็ย่อมมีหัวเทียน 4 อัน ส่วนเครื่องยนต์ 8 สูบ ก็มีหัวเทียน 8 อัน ในกรณีที่หัวเทียนเสื่อมสภาพก็ยิ่งส่งผลให้การจุดระเบิดทำได้อย่างยากลำบากมากยิ่งขึ้น
วิธีแก้ไข
สำหรับวิธีการตรวจสอบหัวเทียนนั้นควรสังเกตว่าเครื่องยนต์มีการทำงานที่ปกติ หรือ ไม่ หากพบว่าเครื่องยนต์มีอาการสั่นให้ตรวจสอบหัวเทียนรถยนต์ ด้วยวิธีการถอดออกมาตรวจเช็คว่ามีคราบเขม่าน้ำมันเกาะอยู่หรือไม่หากพบให้ทำการล้างทำความสะดาดด้วยน้ำมันแล้วทำการสตาร์ทเครื่องยนต์เพื่อทดลองเร่งเครื่องดูอีกครั้งหากพบว่ายังมีการทำงานที่ผิดปกติอยู่ควรเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ หรือ อาจนำรถเข้าไปตรวจเช็คยังอู่ซ่อมรถเพื่อหาปัญหาที่แท้จริงได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ผู้ขับขี่ควรทำการเปลี่ยนหัวเทียนเมื่อมีระยะครบทุกๆ 100,000 กิโลเมตร หรือ ในกรณีที่รถมีการใช้งานหนักก็อาจทำการเปลี่ยนในทุกๆ 8,000-20,000 กิโลเมตรได้เช่นกัน
4.ลิ้นปีกผีเสื้อชำรุด
หากลิ้นปีกผีเสื้อภายในเครื่องยนต์มีการทำงานที่ผิดปกติก็ย่อมส่งผลให้เครื่องยนต์ไม่สามารถที่จะทำการเร่งได้อย่างปกติ หรือ ตอบสนองต่ออัตราการเร่งได้น้อย เร่งแล้วแรงตก รอบเครื่องดับเมื่อเครื่องยนต์เดินเบา และมีอาการสั่นในขณะที่ทำการเร่งเครื่องยนต์ให้ผู้ขับขี่พึงสังเกตไว้ก่อนว่าปีกผีเสื้อภายในเครื่องยนต์มีการทำงานที่ผิดปกติไปจนส่งผลให้เกิดสาเหตุดังกล่าวขึ้น เพราะลิ้นปีกผีเสื้อมีหน้าที่ในการควบคุมอากาศที่ส่งเข้าไปยังห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เมื่อใช้ไปในระยะเวลานานย่อมมีคราบฝุ่น หรือ เขม่าเข้าไปเกาะอยู่ที่บริเวณลิ้นปีกผีเสื้อและส่งผลให้เครื่องยนต์มีอาการสั่น หรือ ดับในขณะที่รอบเครื่องเดินเบา
วิธีแก้ไข
ให้ผู้ขับขี่ลองสังเกตไปที่ลิ้นปีกผีเสื้อว่ามีคราบเขม่า และ คราบน้ำมัน เกาะอยู่หนาแน่นหรือไม่ ควรถอดลิ้นปีกผีเสื้ออกมาเพื่อทำความสะอาดซึ่งตามปกติแล้วลิ้นปีกผีเสื้อมีอายุการใช้งานประมาณ 20,000-30,000 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นผู้ขับขี่จึงควรตรวจสอบลิ้นปีกผีเสื้ออยู่เสมอ หรือ อาจให้ช่างผู้ที่มีความชำนาญถอดลิ้นปีกผีเสื้ออกมาแล้วทำความสะอาดก็ได้อีกเช่นกัน
5.ยางรองแท่นเครื่องรถยนต์เสื่อม
ยางรองแท่นเครื่องนับเป็นส่วนประกอบอีกหนึ่งอย่างภายในรถยนต์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากยางรองแท่นเครื่องถือเป็นจุดที่ใช้ยึดเครื่องยนต์ให้เกาะติดอยู่ภายในห้องเครื่องและช่วยให้เครื่องยนต์ไม่เกิดอาการสะบัดในขณะที่ทำการขับขี่ หรือ เครื่องยนต์สั่นในขณะที่รถทำการจอดนิ่ง
วิธีแก้ไข
ให้ผู้ขับขี่ลองจอดรถและเปิดทำงานของระบบแอร์ในขณะที่เครื่องยนต์ยังคงทำงานอยู่หากยางรองแท่นเครื่องเสื่อม ย่อมมีเสียงดังออกมาจากบริเวณห้องเครื่อง คือ ส่วนของยางรองแท่นเครื่องนั่นเองแม้ว่าคอมเพรสเซอร์แอร์จะมีการตัดวงจรการทำงานแล้วก็ตาม หรือ อาจใช้วิธีการขับรถช้าๆแล้วลองเบรคก็จะพบอาการเครื่องยนต์สั่นซึ่งมีสาเหตุมาจากยางรองแท่นเครื่องเสื่อมสภาพอีกเช่นกันควรนำรถของท่านเข้าไปตรวจเช็คยังศูนย์บริการ หรือ อู่ซ่อมรถยนต์เพื่อทำการเปลี่ยนยางรองแท่นเครื่องใหม่เพื่อแก้ปัญหาเครื่องยนต์สั่นให้หมดไป
สำหรับท่านใดที่พบปัญหาอาการเครื่องสั่น รอบเดินเบา เครื่องสั่น และอาการรถสั่นเวลาจอดสามารถที่จะนำแนวทางการสังเกตอาการเครื่องยนต์สั่นข้างต้นไปปรับประยุกต์ใช้ได้ หรือ ค้นหาข้อมูลแนวทางการบำรุงรักษารถยนต์ได้ใน Autofast9.com
ดูเพิ่มเติม