เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักกับอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยภายในรถยนต์ที่มีชื่อว่า “ถุงลมนิรภัย” กันเป็นอย่างดี สำหรับ ถุง ลม รถยนต์ นับว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่มีอยู่ในรถทุกคันเพื่อช่วยลดแรงกระแทกจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แล้วเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า ถุงลมรถยนต์ มีระบบการทำงานอย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมคำตอบมาไว้ในบทความนี้แล้ว
ถุงลมนิรภัย คืออะไร
สำหรับถุงลมนิรภัย มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Air Bag เป็นอุปกรณ์เสริมที่มีคุณสมบัติเพื่อช่วยลดแรงกระแทกจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และยังช่วยลดอาการบาดเจ็บเพื่อไม่ให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้รับความรุนแรงจนขึ้นเสียชีวิต โดยรูปร่างของถุงลมนิรภัยจะมีลักษณะเป็นถุงลมขนาดใหญ่ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อช่วยปกป้องผู้คนภายในรถไม่ให้ไปกระแทกเข้ากับอุปกรณ์ที่มีความแข็งของตัวรถยนต์ได้
หลักการทำงานของถุงลมนิรภัย
โดยหลักการทำงานของถุงลมนิรภัยที่หลายคนอาจมีคำถามคาใจว่า เซนเซอร์ ถุง ลม นิรภัย อยู่ ตรง ไหน ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าเซนเซอร์ขนาดเล็กอยู่ภายในถุงลมนิรภัยที่จะคอยตรวจจับแรงกระแทกและทำให้ถุงลมนิรภัยทำงาน ส่งผลทำให้พองตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยแก๊สภายในถุงลมนิรภัยประกอบไปด้วยสารเคมีโซเดียมเอไซด์ (Sodium Azide) เมื่อโดนกระแทกจะทำให้เกิดปฏิกิริยาสลายตัวกลายเป็นโลหะโซเดียมและแก๊สไนโตรเจนที่ไหลเข้าไปจนทำให้ถุงลมที่ถูกพับเกิดพองตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยจะใช้เวลาเพียงแค่ 0.04 วินาที พร้อมความเร็ว 300 กม./ชม. และหลังจากนั้นถุงลมนิรภัยจะค่อย ๆ ยุบตัวลงเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารเกิดความอึดอัดและหายใจไม่ออก
ถุงลมนิรภัย อยู่ส่วนไหนของรถยนต์
ในส่วนของตำแหน่งถุงลมนิรภัยภายในรถยนต์จะมีความแตกต่างกันออกไปในรถแต่ละรุ่น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วรถยนต์ทั่วไปจะมีถุงลมนิรภัยอยู่ 2 บริเวณด้วยกัน และรถยนต์ที่มีราคาแพงขึ้นมาจะมีถุงลมนิรภัย 4-6 ตำแหน่ง หรือในบางรุ่นนั้นมีมากถึง 8 ตำแหน่งด้วยกัน
- ถุงลมด้านหน้า (Front Air Bag) สำหรับตำแหน่งแรกที่หลายคุ้นเคยกันอย่างดีคือบริเวณด้านหน้ารถ โดยจะติดตั้งอยู่บนโครงด้านหน้าทั้งซ้ายและขวา เมื่อเกิดอุบัติเหตุชนเข้าที่ด้านหน้าอย่างรุ่นแรง เซนเซอร์จะถูกตรวจจับแรงกระแทกโดยอัตโนมัติก็จะพองตัวขึ้นมาเพื่อรองรับในช่วงหน้าอกและศีรษะไม่ให้ถูกกระแทกด้วยแรงที่มากจนเกินไปและยังปกป้องบริเวณคนขับและคนที่นั่งข้างทันที
- ถุงลมด้านข้าง (Side Air Bag) อีกหนึ่งบริเวณที่มีถุงลมนิรภัยคือแผงประตูข้างเบาะที่นั่ง โดยจะมีเซนเซอร์คอยตรวจจับแรงกระแทกที่ติดอยู่บริเวณด้านหน้า เพื่อช่วยป้องกันการกระแทกในส่วนด้านล่างและแกนกลางของร่างกาย
- ม่านถุงลม (Curtain Air Bag) ในส่วนของม่านถุงลมถูกติดตั้งเอาไว้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากด้านข้างในระดับปานกลางไปจนถึงขั้นรุนแรง เมื่อเซนเซอร์ถูกตรวจจับแรงกระแทก ถุงลมจะพองออกมาโดยอัตโนมัติเพื่อปกป้องใบหน้าและศีรษะจากแรงกระแทก
- ถุงลมป้องกันเข่าและขา (Knee Air Bag) สำหรับถุงลมนิรภัยในบริเวณนี้จะถูกติดตั้งเอาไว้ใต้คอนโซลฝั่งคนขับบริเวณที่หัวเข่า เพื่อช่วยป้องกันในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุไม่ให้ขาและหัวเข่ากระแทกเข้ากับคอนโซลที่มีความแข็งแรงสูง
- ถุงลมใต้เท้า (Carpet Air Bag) ในปัจจุบันตำแหน่งถุงลมนิรภัยในบริเวณนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นมากเท่าไหร่นัก เนื่องจากไม่เป็นที่นิยมในการใช้งานเท่าตำแหน่งอื่น ๆ แต่สำหรับรถที่มีถุงลมบริเวณนี้จะช่วยผ่อนแรงบริเวณเท้าเพื่อไม่ให้ไปกระแทกกับพื้นและผนังกันระหว่างห้องโดยสาร
ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นกฎหมายจราจรหรือผู้ผลิตรถยนต์ได้รณรงค์ให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อเคลื่อนตัวขึ้นมานั่งที่เบาะรถให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง เพื่อเวลาที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาการคาดเข็มขัดนิรภัยก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำงานร่วมกับถุงลมนิรภัยได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนควรขับรถอย่างมีระเบียบวินัย เคารพกฎจราจรทุกครั้ง และให้เกียรติซึ่งกันและกัน เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน และถ้าจะให้ดีการขับรถอย่างปลอดภัยก็จะช่วยลดอุบัติเหตุที่ต้องไม่ต้องใช้ถุงลมนิรภัยอีกต่อไป
อ่านเพิ่มเติม